Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • เกาหลีใต้พัฒนา “ข้าวเนื้อวัว” หวังเป็นแหล่งโปรตีนใหม่แห่งอนาคต

เกาหลีใต้พัฒนา “ข้าวเนื้อวัว” หวังเป็นแหล่งโปรตีนใหม่แห่งอนาคต

ศาสตราจารย์จินกี ฮง (Jinkee Hong) แห่งมหาวิทยาลัยยอนเซในกรุงโซล นักวิจัยชาวเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายเซลล์เนื้อเยื่อของวัวลงไปในเมล็ดข้าวจนออกมาเป็น “ข้าวเนื้อวัว” ผลผลิตที่ถือว่าเป็นก้าวสำคัญในการแสวงหาแหล่งโปรตีนที่ยั่งยืนในราคาที่เอื้อมถึงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจมาทดแทนการทำฟาร์มผลิตโคเนื้อสำหรับการบริโภค โดยการวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร “แมทเทอร์” (Matter) ฉบับเดือนมี.ค.67

 เกาหลีใต้พัฒนา “ข้าวเนื้อวัว” หวังเป็นแหล่งโปรตีนใหม่แห่งอนาคต

ซึ่งในวารสาร “แมทเทอร์” (Matter) ฉบับมี.ค.67 ระบุว่า “ข้าวเนื้อวัว” เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่มีการใช้อนุภาคของข้าวมาเป็นฐานสำหรับการเพาะเซลล์กล้ามเนื้อและไขมันสัตว์ ซึ่ง “เมล็ดข้าว” จะได้รับการเติมเอนไซม์ลงไป สำหรับสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตของเซลล์ ก่อนจะฉีดเซลล์เนื้อวัวที่เพาะเลี้ยงเอาไว้ตามลงไป เพื่อให้ได้ผลผลิตลูกผสมขั้นสุดท้ายที่มีลักษณะเป็นเมล็ดข้าวสีชมพูคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยยอนเซไม่ได้เป็นทีมแรกที่ทดลองและพัฒนาเนื้อสัตว์จากการเพาะในห้องแล็บสู่โต๊ะอาหาร เนื่องจากก่อนหน้านี้มีหลายบริษัททั่วโลก เคยเปิดตัวโครงการผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง รวมไปถึงเนื้อไก่ที่เพาะจากเซลล์พืช และเนื้อปลาไหลที่เพาะจากถั่วเหลืองซึ่งมีวางจำหน่ายในประเทศสิงคโปร์ไปก่อนหน้านี้แล้ว

แต่ทีมนักวิจัยของศาสตราจารย์ฮงระบุว่า ข้าวที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยยอนเซนั้น มีข้อได้เปรียบในด้านของความปลอดภัย เมื่อเทียบกับถั่วเหลืองหรือถั่ว เนื่องจากเป็นผลผลิตที่ไม่ค่อยพบอาการแพ้ในผู้คนส่วนใหญ่

สำหรับ “ข้าวเนื้อวัว” มีโปรตีนและไขมันสูงกว่าข้าวทั่วไปถึง 8% และ 7% ตามลำดับ โดยศาสตราจารย์ฮง ระบุว่า โปรตีนดังกล่าวมีสัดส่วน 18% มาจากเนื้อสัตว์ ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ไฮบริดนี้อุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก

ส่วนราคาขายอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 2 ดอลลาร์ หรือราว 72 บาท และมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่น้อยกว่ากระบวนการผลิตเนื้อวัวแบบปกติเป็นอย่างมากแต่ “ข้าวเนื้อวัว” อาจยังต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ อาทิเช่น อุปสรรคของจุดยืนทางเทคนิค รวมถึงการต้องเอาชนะใจผู้บริโภคในด้านรสชาติและเนื้อสัมผัส